ประวัติเมืองพัทยา

“เมืองพัทยา” แต่เดิมนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ในเขต ตำบลนาเกลือ  อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี  อยู่ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 30 กิโลเมตร  มีลักษณะทางกายภาพแนวหาดพัทยาทอดตัวยาวขาวนวล  อยู่ในวงล้อมของโค้งอ่าวครึ่งวงกลม ตลอดแนวยาว 3  กิโลเมตร รวมกับนาจอมเทียนอีก 3 กิโลเมตร  “ด้วยมนต์เสน่ห์ของน้ำทะเลใสที่ส่งประกายระยิบระยับ เสียงคลื่นที่ซัดซ่าฝั่งดังเป็นจังหวะจะโคน ที่สามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศอันน่าประทับใจ” ต่อมาในปี 2499 ทางราชการได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลนาเกลือขึ้น ขณะนั้นหมู่บ้านชาวประมงพัทยายังอยู่นอกเขตสุขาภิบาล กระทั่งต่อมาในปี 2507 (47 ปีที่ผ่านมา) จึงได้มีการขยายอาณาเขต สุขาภิบาล จากตำบลนาเกลือไปจนถึงเขตพัทยาใต้ มีพื้นที่ในการปกครองประมาณ 22.2 ตารางกิโลเมตร

ประวัติศาสตร์เมืองพัทยา พุทธศักราช 2310

                หากจะย้อนกลับไปถึงความเกี่ยวข้องของเมืองพัทยากับประวัติศาสตร์ที่เล่าขานถึงตำนานอันเป็นที่มาของ “พัทยา” นั้นมีประวติเล่าถึงเหตุการณ์สำคัญไว้ 2 กระแส กล่าวคือ
กระแสหนึ่งพูดถึงพัทยาในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยว่า ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในปี พ.ศ. 2310 ประมาณ 2 เดือน พระยาตาก(สิน) เจ้าเมืองตาก เมื่อครั้งพระนครศรีอยุธยาถูกพม่าล้อม ทรงนำกำลังพลประมาณ 500 นาย ตีแหวกวงล้อมของพม่า เพื่อมาตั้งหลักกันใหม่ ทรงเดินทางมาแวะพักทัพในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของ “เมืองพัทยา” ในปัจจุบัน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังเมืองจันทบุรี และกลับไปต่อสู้ขับไล่ข้าศึกออกจากประเทศไทย หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2  พร้อมทั้งประกาศอิสรภาพ ทรงกอบกู้เอกราชของชาติมาได้ ภายในระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น ต่อมาท่านได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ผู้ก่อตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งที่ 3 ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ของประเทศไทย  ดังนั้น สถานที่บริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เดินทางมาแวะพักทัพนั้น ต่อมาชาวบ้านจึงได้เรียกขานกันว่า “ทัพพระยา”         
ส่วนอีกกระแส ได้กล่าวถึงตำนานไว้ว่า “พัทยา” ตรงบริเวณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาแวะพักทัพ นั้น เป็นบริเวณที่มีทำเลดีและมีลมทะเลชนิดหนึ่งชื่อว่า “ ลมพัทธยา ” เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พัดผ่านเข้ามาที่นี่เป็นประจำทุกปีในตอนต้นฤดูฝน จึงได้เรียกสถานที่บริเวณนี้ว่า “หมู่บ้านพัทธยา” และต่อมาได้เรียกเป็น “พัทยา” ในที่สุด  
จากประวัติศาสตร์ สู่ตราสัญลักษณ์เมือง
อย่างไรก็ตาม สำหรับการแวะมาพักทัพของ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” ในคราวนั้น ประชาราษร์ชาวไทยและชาวพัทยาผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า “มหาราช” รัฐบาล ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ บริเวณหน้า “ศาลาว่าการเมืองพัทยา” เพื่อน้อมรำลึกในพระเกียรติประวัติ เกียรติยศและเกียรติคุณให้ปรากฏกับอนุชนรุ่นหลังตราบเท่าทุกวันนี้
จากประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญจึงเป็นที่มาของ “ตราสัญลักษณ์ประจำเมืองพัทยา” ซึ่งเป็น รูปทรงกลมสองวงซ้อนกัน ภายในวงกลมมีภาพทหารโบราณขี่ม้าอยู่บนหน้าผา ด้านหลังคนขี่ม้านั้นมีภาพชายหาด ทะเล และเกาะ

ความหมายของตราสัญลักษณ์
รูปทรงกลมสองวงซ้อนกัน  หมายถึง “ความเจริญรุดหน้าอย่างต่อเนื่องของเมืองพัทยา”
ภาพทหารโบราณขี่ม้าอยู่บนหน้าผา หมายถึง “ความเป็นเอกราช (เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยแวะมาพักทัพที่พัทยา ก่อนที่จะเข้าตีเมืองจันทบุรีและกลับไปกอบกู้เอกราชของชาติ)
ภาพชายหาด ทะเล และ เกาะ ที่อยู่ด้านหลังคนขี่ม้านั้น หมายถึง “สภาพทั่วไปของเมืองพัทยา”
ประวัติศาสตร์เมืองพัทยา พุทธศักราช 2491
                ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีการบุกเบิกพัฒนาที่ดินของเมืองพัทยา โดยได้มีบุคคลสำคัญ คือ คุณ ปริญญา ชวลิตธำรง ซึ่งท่านได้ซื้อที่ดินบุกเบิกและสร้างความเจริญให้กับเมืองพัทยา เมื่อท่านได้เล็งเห็นถึงมนต์เสน่ห์ของหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ทัศนียภาพที่สวยสดงดงาม หาดทรงโค้งครึ่งวงกลม และคาดการณ์ถึงความเจริญในภายภาคหน้า จึงตัดสินใจซื้อที่ดิน ระหว่างบุกเบิกพัฒนา คุณ ปริญญา ชวลิตธำรง  ได้นำเสนอและขอร้องท่านนายอำเภอให้เปลี่ยนภาษาเขียน เพราะเห็นว่าการเขียนแบบเดิมนั้นไม่ทันสมัยและโบราณ โดยเปลี่ยนจาก “พัทธยา” นำ ธ.ธง ออก มาเป็นคำว่า “พัทยา” ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน
                ต่อมาภายหลังคุณ ปริญญา ชวลิตธำรง  ได้มอบที่ดินให้กับทางเมืองพัทยา จำนวน 10 ไร่ เพื่อเป็นที่ตั้งของศาลาว่าการ “เมืองพัทยา” ในปัจจุบัน (สมัยท่าน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและท่านเป็นประธานวางศิลาฤกษ์) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2523 ตลอดจนมอบที่ดินเพื่อสร้างสาธาณะประโยชน์ ถนนพัทยา – นาเกลือ (เส้นสุขุมวิท ในปัจจุบัน) ความกว้าง   20 – 30 เมตร และท่านได้ดำรงตำแหน่ง สมาชิกสภาเมืองพัทยา ถึง 5 วาระ
จุดเริ่มต้น.. “การพัฒนาเมืองพัทยา
ในสมัยก่อน เมื่อมีการซื้อขายที่ดิน ผู้ซื้อจะได้รับใบครอบครอง  ส.ค.  1 (ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน เป็นหลักฐานแสดงการครอบครองที่ดิน) เพื่อการเข้ามาทำประโยชน์ และการพัฒนาที่ดิน จากนั้นจึงจะดำเนินการออกใบเอกสารสำคัญต่างๆ กันในภายหลัง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาถนนหนทาง ระบบสาธาณูปโภคพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ร่วมกันพัฒนากับหลายภาคส่วน พร้อมทั้งปรับภูมิทัศน์เพื่อให้เห็นทัศนียภาพที่สวยสดงดงามของชายหาดและน้ำทะเล
โดยถนนสายแรกในพัทยา คือ “ถนนสายพัทยา – นาเกลือ” เริ่มตั้งแต่ตลาดนาเกลือวิ่งตรงมาถึงชายทะเล (บริเวณโรงแรมดุสิต รีสอร์ท และโรงแรมอมารีฯ ในปัจจุบัน) แล้วเลี้ยวซ้ายเลียบชายทะเลมาถึงพัทยาใต้ ระหว่างทางด้านขวามือได้มีการตัดถนนไปลงชายทะเลด้วยเช่นกันโดยตัดเป็นซอย เช่น ซอยวงศ์อำมาตย์ ซอยชวลิตธำรง และ ซอยผิงผา (ตั้งชื่อซอยตามนามสกุล เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้มีส่วนในการพัฒนา บุกเบิกเมืองพัทยา) เป็นต้น ถนนซอยเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นทางเข้าไปยังบ้านพักตากอากาศ ซึ่งด้านหลังมักทำเป็นเหมือนบ้านพักตากอากาศที่ชายทะเลหัวหิน
 ก้าวแรก.. “เมืองพัทยาในฐานะเมืองท่องเที่ยว”
จุดเริ่มต้นของการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เป็นผลมาจากการพัฒนา คือภายหลังจากที่ “ถนนสายพัทยา – นาเกลือ”  เสร็จได้ไม่นาน  มีนักหนังสือพิมพ์ “เพลินจิตต์“  และนักประพันธ์ชื่อดังมาเที่ยวพัทยาด้วยรถตู้ ได้เดินทางไปที่หาดแห่งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนี้คือที่ตั้งของ “โรงแรมดุสิต รีสอร์ท” ซึ่งทุกท่านเห็นแล้วชอบและประทับใจมาก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอ่าวนี้ช่างสวยงาม” เมื่อกลับไปได้นำเรื่องราวของหาดพัทยาเขียนลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เพลินจิตต์  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักพัทยากันมากขึ้น” หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2498 เริ่มมีทัวร์พาคนกรุงเทพฯ  มาเที่ยวที่พัทยาคราวละ  30 – 40  คนบ้าง จนถึงปี พ.ศ.2515 ความสะดวก สบายของถนนหนทาง ทำให้คนสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวโดยทางรถยนต์ และการเดินทางด้วยรถโดยสาร ที่สถานีขนส่งสายใต้ ใช้เวลาเดินทางมาถึง “พัทยา” ในเวลาไม่นาน  จนเมืองพัทยาได้ถูกนำบันทึกเรื่องราวและบรรยายบรรยากาศ ไปตีพิมพ์เผยแพร่ไว้ใน อนุสาร อ.ส.ท. ฉบับที่ 6 ปีที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ. 2515
ส่วนจุดเปลี่ยนอันเป็นจุดเริ่มต้นของเมืองท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติรู้จัก “เมืองพัทยา” เมื่อประมาณปี พ.ศ.  2502  กองทัพสหรัฐมีนายทหารอเมริกันหลายพันนาย ได้มาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานที่มั่นประจำการ เพื่อส่งกองกำลังทหารอเมริกันเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม ช่วงวันหยุดราชการทหารอเมริกันจะนั่งรถยี  เอ็ม  ซี  เดินทางเข้ามาพักผ่อนที่อ่าวพัทยา ช่วงนั้นพัทยายังเงียบสงบเมื่อเสร็จสิ้นการรบทหารอเมริกันได้กลับไป ชื่อเสียงของเมืองพัทยาก็เริ่มขจรไกลจากปากบรรดาจีไอไปสู่ชาวตะวันตกอื่นๆ  ต่อมาในช่วงปี  พ.ศ.  2520  นักท่องเที่ยวจากตะวันตกซึ่งเป็นชาวยุโรป  เริ่มเข้ามาท่องเที่ยว ทำให้เมืองพัทยาเติบโตขึ้นมาก  โรงแรมใหม่ๆ ก็ผุดขึ้นมามากขึ้นตามลำดับตั้งแต่พัทยาเหนือไปจนถึงพัทยากลางและพัทยาใต้  และขยับขยายต่อไปจนถึงหาดจอมเทียนซึ่งอยู่ถัดไปทางใต้  ในยุคสมัยหนึ่งพัทยารุ่งเรืองสุดขีดถึงกับได้รับการขนานนามว่าเป็น  ” ริเวียร่าแห่งเอเชีย” (มีความสวยงาม เทียบเท่าชายหาดของอิตาลี ชื่อว่า “อิตาลี ริเวียร่า” ทางฝั่งยุโรปได้ชื่อว่าอากาศดีมาก ติดอันดับเมืองท่องเที่ยว) เลยทีเดียว
ความเจริญรุดหน้า..สู่เขตปกครองพิเศษ
ภายหลังจาก “เมืองพัทยา” เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของโครงสร้างของเมือง อัตราการเพิ่มของประชากร การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานและแรงงาน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น และองค์ประกอบในด้านอื่นๆ ส่งผลให้การปกครองในรูปแบบสุขาภิบาลไม่สามารถบริหารงานและแก้ไขปัญหาของเมืองได้ทันท่วงที ประกอบกับรัฐบาลในขณะนั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของ “เมืองพัทยา” ตลอดจนเล็งเห็นถึงความสำคัญด้านกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้เสนอให้นำการปกครองรูปแบบพิเศษมาใช้ที่เมืองพัทยา เพื่อแก้ไขปัญหาและ เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสมั่นคงให้แก่เมืองพัทยาสืบต่อไป
เหตุผลในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย  ที่  736/2519  ลงวันที่  3  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2519  ระบุว่า  เมืองพัทยานอกจากมีความเจริญในด้านวัตถุแล้ว  อัตราการถ่ายเทของประชากรในเมืองพัทยาก็อยู่ในระดับสูง  ไม่แน่นอนเหมือนกับท้องถิ่นทั่วไป  และพัทยาก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก  จากศักยภาพของเมืองพัทยาที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ  พัทยาจึงเป็นเมืองที่ได้รับการจับตามอง  และให้ความสำคัญในการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
                ก่อนเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.  2521  พัทยามีฐานะเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในเขตการปกครองของสุขาภิบาลนาเกลือ  ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่  พ.ศ.  2499  แต่มีพื้นที่เฉพาะตำบลนาเกลือ  ประมาณ  22.2  ตารางกิโลเมตร แต่เนื่องจากพัทยาได้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากทั้งจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ  หน่วยการปกครองที่เป็นสุขาภิบาลอยู่เดิม  ไม่อาจจะบริหารงานและให้บริการได้ทันกับความเจริญอย่างรวดเร็วและแก้ปัญหาต่างๆ ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ.  2521  ขึ้น  ด้วยผลแห่งพระราชบัญญัตินี้  เมื่อวันที่  29  พฤศจิกายน  พ.ศ.  2521  จึงทำให้พัทยาเปลี่ยนจากการอยู่ในเขตการปกครองของสุขาภิบาลนาเกลือไปเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ  แบบมีผู้จัดการเมือง  (City Manager) เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบที่ 5 ของไทย และให้เมืองพัทยามีฐานะเทียบเท่าเทศบาลนคร
                การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเมืองพัทยาดังกล่าว  มีความแตกต่างไปจากรูปแบบการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ  ที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทย  มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบการปกครองของเทศบาลรูปแบบสภาและผู้จัดการ  (Council and Manager Form) หรือผู้จัดการเทศบาล (City Manager) แบบเดียวกับของสหรัฐอเมริกา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นการนำเอาระบบบริหารรูปแบบผู้จัดการมาใช้บริหารเมืองพัทยานั่นเอง นับเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย การที่ได้ทดลองเอารูปแบบผู้จัดการมาใช้กับเมืองพัทยาเช่นนี้ก็ด้วยตระหนักว่า เป็นท้องถิ่นที่อยู่ในเขตศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยว เขตอุตสาหกรรมและเขตท่าเรือน้ำลึก มีความเจริญและมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากท้องถิ่นอื่นเป็นอันมาก
กระทั่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีผลบังคับ ได้กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง  จึงยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 และตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 บังคับใช้ มีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
โดยนายกเมืองพัทยาคนแรกคือ พลเรือเอก สถาปน์  เกยานนท์  นั้นท่านเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถจึงทำให้การบริหารเมืองพัทยาในระยะแรกผ่านไปได้ด้วยดี จากอดีตถึงปัจจุบัน มีนายกเมืองพัทยาทั้งสิ้นรวม 8 คนโดยนายกเมืองพัทยาคนปัจจุบัน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ คือ นายอิทธิพล คุณปลื้ม กับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและภารกิจพลิกโฉมเมืองพัทยาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ของคนทั้งโลก
พัทยาในวันนี้..ประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับวิสัยทัศน์และภารกิจพลิกโฉมเมืองพัทยาของ นายอิทธิพล คุณปลื้ม “ทำจริง ทำแล้ว”
 วิสัยทัศน์
“เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มุ่งเน้นอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอย่างโปร่งใส”

ก้าวแรก..ที่มั่นคง ร่วมคิด ร่วมทำ อย่างมีแบบแผน

10 ปี ข้างหน้าเมืองพัทยาจะเป็นอย่างไร?

เมืองพัทยา จะก้าวไปข้างหน้า..และเติบโตได้เพียงใด สำคัญที่  “การมีส่วนร่วมของประชาชนพัทยทุกคน”   นับจากวันแรกที่เราได้เริ่มทำงานเพื่อดูแลรับใช้ประชาชนชาวพัทยา ในฐานะตัวแทนประชาชนชาวพัทยา วิสัยทัศน์ แนวทางการทำงานที่ยึดถือมาโดยตลอด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน และ ความโปร่งใสในการทำงาน ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการับรู้ข้อมูล การแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเห็นชอบกับการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่และอนาคตของเมืองพัทยา
เราเคารพประชามติ..ของประชาชนชาวพัทยา เราได้นำนโยบายที่ผ่านการลงประชามติจากการเลือกตั้ง ประกาศหลักการนำพาเมืองพัทยาสู่ความสมดุล (Balanced Up)  5 หลัก 7 สร้าง 13 ยุทธศาสตร์ 14 นโยบายเร่งด่วน  ด้วยกลยุทธ์การพัฒนาเมืองแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ เอสทูอี (City Modernization by “S” to “E” Concept) ภายใต้การจัดการบริหารความเสี่ยง  (Risk Management) เป็นสัญญาประชาคมทำให้ไว้ต่อสภาเมืองพัทยา  พนักงานเมืองพัทยา  ประชาชน  ผู้ประกอบการ  นักธุรกิจ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2551
ทุกย่างก้าว..ต้องมีทิศทาง เมืองพัทยาได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองพัทยา 10 ปีอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่การกำหนด วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเมืองพัทยา 3 ปี การกำหนดวิสัยทัศน์แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองพัทยา 5 ปี และการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาเมืองพัทยา 10 ปี สอดรับแนวนโยบายแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยนำข้อเสนอความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม การจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้บริหารเมืองพัทยา (Executive Focus Group) ส่วนราชการเมืองพัทยา (Management Workshop) และประชาชนชาวพัทยา (Key Stakeholder Focus Group) ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองการบริหาร ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้เราได้รับฟังความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และการศึกษาเปรียบเทียบหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการประเมินศักยภาพ (Capacity)ของเมืองพัทยาเป็นปัจจัยในการจัดทำแผนด้วยการร่วมคิดร่วมทำอย่างมีแบบแผน

พัทยา…..เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่ของคนทั้งโลก
การพัฒนาให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าอยู่  เริ่มต้นจากการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงแข็งแรงให้กับเมือง คุณภาพชีวิตที่ดีของชาวพัทยา และความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อต้อนรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยว โดยต้องเพิ่มมาตรฐานให้ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน  เริ่มจากปัจจัย  4  เรื่องของอาหารการกินมีความพร้อมต่อการรองรับ มีร้านอาหารหลากหลายและรสชาติดี อาหารอร่อย สะอาดถูกสุขอนามัย ด้านการดูแลเรื่องสุขภาพมีโรงพยาบาล พร้อมทีมแพทย์และพยาบาลเพียงพอ เรื่องการศึกษาสำหรับเยาวชน ต้องมีโรงเรียนที่มีความพร้อมรองรับและมีมาตรฐาน  เรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง  เรื่องระบบขนส่งมวลชน รถประจำทางที่ใช้ในการเดินทางในชีวิตประจำวัน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไฟฟ้า  ประปา บนเกาะล้านต้องแล้วเสร็จ เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนและรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานที่ทำให้เมืองพัทยาเป็นเมืองน่าอยู่เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเข้ามาประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองพัทยา  ซึ่งความจริงแล้ว ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพัทยาก็มีให้เห็นในรูปแบบนี้ เริ่มจากมาเที่ยวแล้วมาอยู่แบบ Long stay จากนั้นเริ่มมีส่วนลงทุนทำธุรกิจ ตลอดจนเป็นเจ้าของกิจการเอง  และขณะนี้ทางเมืองพัทยาก็กำลังดำเนินการตาม 14  นโยบายเร่งด่วนซึ่งครอบคลุมทุกด้านของการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่พื้นฐาน
การที่พัทยาเป็น  “เมืองท่องเที่ยวน่าอยู่”  ซึ่งหมายความว่าพัทยาจะเป็นมากกว่า “เมืองท่องเที่ยว” แต่จะเป็นเมืองที่เมื่อมาเที่ยวครั้งแรกแล้วพอใจ  อยากมาเที่ยวอีกและเมื่อมาเที่ยวครั้งต่อไป ก็รู้สึกว่าเมืองนี้ที่อยู่ก็ดี บ้านเมืองก็ดี  ผู้คนก็ยิ้มแย้มแจ่มใส (Service Mind)เมื่อมาอยู่เป็นระยะเวลานานขึ้น ก็จะเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ  ทำธุรกิจหรือค้าขายก็สามารถทำได้  จะลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ทำโรงแรม อพาร์ทเมนท์หรือคอนโดมีเนียมก็ได้  ตรงนี้ก็จะทำให้คิดว่า ควรจะย้ายมาอยู่ที่เมืองพัทยา โดยเริ่มจากการเป็นนักท่องเที่ยวแต่ต่อไปก็จะกลายเป็นพลเมืองของเมืองนี้เป้าหมายการพัฒนาเมืองพัทยาจะพัฒนาไปสู่จุดนั้น
ส่วนเป้าหมายในระยะสั้น คือ การทำให้เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็น 1 ใน 3 อันดับในใจของผู้ที่คิดจะเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ด้วยธรรมชาติ หาดทราย หมู่เกาะ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศูนย์กลางแห่งศิลปะ ประเพณีพื้นบ้านและวัฒนธรรมร่วมสมัย เมืองภาพยนต์ ดนตรีและกีฬา
รีสอร์ท ที่พักชั้นนำหรูหรามีระดับ ศูนย์การประชุมสัมนาระดับนานาชาติ การบริการด้านสุขภาพที่ได้คุณภาพมาตรฐาน กิจกรรมชายหาดที่สนุกสนานปลอดภัย การท่องเที่ยวผจญภัยที่ตื่นเต้นท้าทาย เทศกาลและกิจกรรมระดับนานาชาติที่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี การลิ้มลองรสชาดความอร่อยและสดของอาหารทะเล ดื่มดำและสัมผัสบรรยากาศของสีสันยามราตรี จังหวะของเสียงดนตรียามค่ำคืน เอกลักษณ์การแสดงที่สร้างสรรค์อย่างเหนือจินตนาการ เพลิดเพลินกับการจับจ่ายใช้สอย พิธีสมรสและฉลองฮันนี่มูนที่แสนโรแมนติคครบทุกเชื้อชาติ ศาสนา
สำหรับนักท่องเที่ยวภายในประเทศ หากถามว่า  “วันหยุดไปเที่ยวไหนดี”  ก็ต้องมี  “พัทยา”  เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองไทย 1 ใน 3 อันดับ ซึ่งพัทยามีศักยภาพมากพอที่จะเป็นเช่นนั้น  ทั้งในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวที่เดินทางไปมาง่ายสะดวก  ปลอดภัย  ราคาไม่แพงและที่สำคัญ “พัทยา” มีทุกอย่างที่คุณอยากได้
บทบาทนายอิทธิพล คุณปลื้ม กับพัทยาในวันนี้.. สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้วยการพลิกโฉมให้ พัทยาพร้อมต้อนรับทุกท่านที่จะมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ  ..การสร้างเมืองให้น่าเที่ยว การอำนวยความสะดวกความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว การเพิ่มศักยภาพการบริการภาครัฐเพื่อการคืนกำไรให้นักท่องเที่ยว ก็ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวเมืองพัทยา เมื่อมีนักท่องเที่ยว ชาวพัทยาก็มีรายได้ เศรษฐกิจของพัทยาเติบโตอย่างก้าวหน้าและมั่นคงแข็งแรง นั่นหมายถึงการสร้างประโยชน์สุขต่อประชาชนชาวพัทยา ต่อนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลก  อันจักสร้างความรุ่งเรืองให้กับเมืองพัทยาอย่างยั่งยืน ด้วยความทุ่มเท..ของเราทุกวินาที

หลักการนำพาเมืองพัทยาสู่ความสมดุล  (Balance  Up)
5  หลัก
1 ) หลักนิติธรรม
2 ) หลักความรู้
3 ) หลักร่วมคิดร่วมทำ
4 ) หลักความรับผิดชอบ
5 ) หลักความคุ้มค่า
7  สร้าง
1 )  สร้างศูนย์กลางที่ประชาชน
2 )  สร้างประโยชน์สุงสุดแก่ประชาชน
3 )  สร้างความพึงพอใจของประชาชน
4 )  สร้างความสะดวก  ลดขั้นตอนงานราชการของประชาชน
5 )  สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพ
6 )  สร้างนวัตกรรมแบบผสมผสาน  การบริหารจัดการเมืองพัทยา
7 )  สร้างความแข็งแกร่งงานประชาสัมพันธ์ในภารกิจต่าง ๆ
13  ยุทธศาสตร์
1 ) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  และนักท่องเที่ยว
2 ) ด้านยาเสพติด
3 ) ด้านการจราจร
4 ) ด้านการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์
5 ) ด้านการศึกษา
6 ) ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐาน  และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
7 ) ด้านการกีฬาและนันทนาการ
8 ) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง  ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
9 ) ด้านการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม
10 ) ด้านการจัดระเบียบสังคมเพื่อส่งเสริม  ศีลธรรม  จริยธรรม  วัฒนธรรมท้องถิ่นและศาสนา
11 ) ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและพลังงานทดแทน
12) ด้านผังเมืองและการพัฒนาเมือง  Cluster  ให้มีความเท่าเทียม
13) ด้านการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใส

14 นโยบายเร่งด่วน   เรารักพัทยา..ใส่ใจใกล้ชิด

นโยบายที่ 1 เมืองพัทยาต้องโปร่งใส ชาวพัทยาต้องมีส่วนร่วม
“ก้าวแรก..เริ่มต้นได้จากการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ อย่างมีแบบแผน และก้าวต่อไปข้างหน้า..พร้อมกับประชาชนทุกอย่างก้าวเพื่อความมั่นคง”
“ศอท. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์) ชุดเคลื่อนที่เร็วปฏิบัติการงานด่วน ทำจริง ทำได้”
นโยบายที่ 2  เมืองพัทยาปลอดภัย ทั้งในและนอกบ้าน 24 ชั่วโมง
“หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยา 2310”
“ทุกชีวิตเราดูแล..8 นาที ช่วยเหลือถึงที่เกิดเหตุ”
นโยบายที่ 3 ประปาถึงบ้าน ไฟฟ้าถึงเรือน พัทยา-เกาะล้าน
“ประปาถึงบ้าน 33 ชุมชน“
“เกาะล้านพัฒนา..เรานำไฟฟ้าถึงทุกบ้าน”
นโยบายที่ 4 รถรางไฟฟ้าเมืองพัทยา
“เพื่ออนาคตที่ดีกว่า..ด้วยมติประชาชนเมืองพัทยา”
นโยบายที่ 5 พัทยาผ่านตลอด จราจรคล่องตัว
พัทยาในวันนี้แก้ไขปัญหาการคมนาคมทางบกอย่างเป็นระบบเป็นรูปธรรม
ระยะสั้น..ต้องก้าวทันที
“ลดความยาวแถวคอย..รถน้อยก็ไฟเขียวเร็ว รถมากก็รอไม่นาน ด้วยระบบควบคุมการจราจรด้วยคอมพิวเตอร์ (ATC : Area Traffic Control)”
“เรามอบความปลอดภัย..ให้ทุกชีวิตทุกย่างก้าว ด้วยสัญญาณไฟคนข้ามถนน”
“เดินหน้า..พัฒนาใจกลางเศรษฐกิจทางบกและทางทะเล จอดอย่างอุ่นใจ.. แล้วจรอย่างปลอดภัย  แนวคิดจุดท่องเที่ยวใหม่เทียบชั้น Sydney harbor”
“หัวใจงานจราจร คือ บริการ”
ระยะกลาง..ต้องก้าวตั้งแต่วันนี้
“มุ่งหน้าพัฒนาทางลดระดับ บน ถ.สุขุมวิท บริเวณทางแยกพัทยากลาง ตามผลการศึกษา    และเสียงประชาชนชาวพัทยา”
“Direct Flight บินตรงมาลงที่อู่ตะเภา อีก 30 นาที มาถึงชายหาดพัทยา”
ระยะยาว..ต้องก้าวให้มั่นคงพร้อมประชาสังคม
“การนำขนส่งมวลชนแบบกลุ่มที่ประชาชนชาวพัทยาร่วมนำเสนอความคิดเห็นเข้ามาใช้งานในลักษณะจอดแล้วจร”
นโยบายที่ 6 ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
“น้ำท่วมระบายได้เร็ว..ไม่ถึงชั่วโมง”
นโยบายที่ 7 เรียนฟรี 15 ปี อาหารกลางวันฟรี มาตรฐานสากล มีรถรับส่ง
“ดูแลลูกหลานของท่าน ดูแลลูกหลานของเรา”
“รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองประเภท Marching Parade European Open Champion 2011”
“รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองประเภท Show Band European Open Champion 2011”
นโยบายที่ 8 คนไม่ว่างงาน ค้าขายไม่ว่างมือ
“ใส่ใจร้านค้า..พัฒนาเศรษฐกิจ”
นโยบายที่ 9 หมอถึงบ้าน โรงพยาบาลเมืองพัทยา 20,000 เตียง
“สุขภาพดีตั้งแต่ในครรภ์..ดูแลผูกพันถึงวัยชรา”
นโยบายที่ 10 2 ปี ถนนดินต้องสิ้นไป
“ไฟสว่าง ถนนเรียบ ปลอดภัย ท่อระบายน้ำทั่วถึง”
“2ปี ถนน ค.ส.ล. พร้อมท่อระบายน้ำ 109 สาย”
นโยบายที่ 11 ที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ปลอดขยะ ปลอดสารพิษ
“สร้างโอกาส..โดยรัฐ  ดูแลใกล้ชิด..โดยเรา  สร้างบ้านมั่นคง..ด้วยชุมชน”
นโยบายที่ 12 ศูนย์กลางกีฬา ลูกหลาน ร้านค้า กีฬา พาเจริญ
“เดินหน้า..ศูนย์กลางกีฬาภาคตะวันออก”
เราสร้างโอกาส สานฝันเยาวชน ส่งเสริมให้มีการสร้างนักกีฬาเยาวชนทีมชาติ
“ที่สุดแห่งความภูมิใจ..โลมาวินเซิร์ฟ
“ช้างเผือกปิงปองไทย”
“Golf Destination of the year 2012 for Asia and Australasia”
นโยบายที่ 13 มีมหกรรม มีนักท่องเที่ยว มีรายได้ ค้าขายคล่อง
“2 ปีกับ 70 มหกรรม”
“มหกรรมน่ามา โฆษณาน่าเที่ยว”
นโยบายที่ 14 ธรรมชาติ หาดสวย น้ำใส ปลอดภัย คืนให้ทะเลพัทยา (Good Beach)
“เปลี่ยนมุมมองใหม่ เพิ่มพื้นที่ใช้สอยริมหาด แก้ปัญหาเส้นทางจราจร”
“ใส่ใจ..ฟื้นฟูระบบนิเวศน์ เดินหน้าปลูกป่าชายเลน”
“พิพิธภัณฑ์ทางทะเลใต้น้ำ เรือหลวงครามและเรือหลวงกูด”
“มอบความสะดวก..ใส่ใจความปลอดภัยจราจรทางทะเล..ประชาชนนักท่องเที่ยวเกาะล้าน”
“หาดสะอาดถูกใจ ทะเลสวยใส ปลอดภัยน่าเที่ยว..ทุ่นดักขยะเกาะล้าน”